พื้น Epoxy / พื้น PU 
image
พื้น EPOXY
        งานเคลือบพื้น Epoxy สารเคลือบพื้นผิวนิยมใช้ในการเคลือบผิวของอาคาร พื้นอาคาร พื้นโรงงานเนื่องจาก Epoxy มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก การขูดขีด เสียดสี ทนกรด และเบสทนความร้อนได้ดี แต่ไม่ทนต่อ UV จึงมักถูกประยุกต์ใช้ภายในอาคาร เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ผิวเรียบเงา ไม่มีรอยต่อ ทนต่อสารเคมี ทำความสะอาดง่าย มีหลายสี และมีหลายระบบในการเคลือบพื้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานหลากหลายประเภท

       1. EPOXY COATING (ROLLING) คือ การเคลือบพื้นผิวด้วยระบบการกลิ้งด้วยลูกกลิ้งทาสีทั่วไป เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นพื้นไร้รอยต่อ มีความสวยงาม ทำความสะอาดง่าย ไม่ลื่น เงางาม เหมาะสำหรับเคลือบพื้น ผนัง และงานตีเส้นจราจร เคลือบพื้นภายในอาคาร และสำหรับโกดังคลังสินค้า ลานเอนกประสงค์, งานเคลือบโครงสร้าง Epoxy Coating มีความหนาตั้งแต่ 150-900 ไมครอน

       2. EPOXY SELF LEVELING เป็นระบบเคลือบพื้น Epoxy โดยใช้อีพ็อกซี่ชนิดเทหรือปาดปรับระดับ เคลือบพื้นให้แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานมากกว่าระบบอีพ็อกซี่ชนิด Coating เพราะระบบนี้จะมีความหนาและความเงางามเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมทั่วไป ห้องแล็บ โรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ ศูนย์บริการรถยนต์ คลังสินค้า เวิร์คช็อป ห้องบรรจุสินค้า พื้นโรงพยาบาล พื้นโรงงานผลิตยา พื้นโรงงานประกอบรถยนต์ พื้นโรงงานอิเลคทรอนิคส์ พื้นโชว์รูม พื้นลานจอดรถยนต์ฯลฯ สามารถทำความหนาได้ตั้งแต่ 1,000-6,000 ไมครอน

         3. EPOXY NON-SLIP เป็นสีอีพ็อกซี่สำหรับเคลือบพื้นผิวเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดจากการสัมผัส และเสียดสี การลื่นไหล เพิ่มความคงทนมีหลายสีให้เลือก ลักษณะงาน เหมาะกับพื้นบันได ทางขึ้น – ลง ทางเดินภายในอาคาร พื้นที่ใช้งานที่มีคราบ น้ำมันทางเดินห้องเย็นและภายในโรงงานที่มีปัญหาเรื่องการลื่นไหล
image
พื้น PU
        พื้น PU หรือในอีกชื่อหนึ่งคือระบบการเคลือบพื้นด้วย โพลียูรีเทรน (Polyurethane) จัดเป็นสารเคมีที่ถูกออกแบบให้เข้ากับพื้นหลากหลายชนิดตามจุดประสงค์การใช้ ตัวอย่างเช่นพื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นในอุตสาหกรรมอาหาร พื้นในอุตสาหกรรมยา พื้นในห้องเย็น รวมไปถึง พื้นที่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในสภาวะเปียกหรือแห้งอยู่ตลอดเวลา

·   พื้น PU Polyurethane Heavy Duty Floor (PU-HF) จัดเป็นพื้น PU ชนิดที่แข็งแรงทนทานพิเศษ ผิวหน้าหยาบ มีคุณสมบัติที่สามารถทนทานอุณหภูมิได้ตั้งแต่ระดับเย็นต่ำไปจนถึงความร้อนสูง เหมาะกับพื้นบริเวณที่มีความเปียกชื้น อย่างเช่นพื้นห้องครัว พื้นห้องเย็นอุณหภูมิติดลบสามารถระงับการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้ดี ไร้รอยต่อ ช่วย ปรับระดับพื้นคอนกรีต ทั้งยังทนทานต่อน้ำหนักได้มากถึง 5 ตันขึ้นไป สามารถทำความหนาได้ถึง 5.0 - 12.0 mm.

·   พื้น PU Polyurethane Medium Duty Floor (PU-MF) จัดเป็นพื้น PU ชนิดที่แข็งแรงอยู่ในระดับปานกลาง ผิวจะเรียบเนียน นิยมใช้กับบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมอุณหภูมิต่ำ และ สูงระดับปานกลาง สามารถทนทานต่อแรงกดทับได้ในระดับ 3 - 4 ตัน ทั้งยังสามารถช่วยปรับพื้นให้เรียบ ไร้รอยต่อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา แบคทีเรียได้ดี สามารถทำความหนาได้ถึง 3.0 - 4.0 mm.

·   พื้น PU Polyurethane Self-Leveling (PU-LF) จัดเป็นพื้น PU ชนิดแบบบาง แต่ยังคงคุณสมบัติทนทานต่อกรดด่าง สารเคมีตัวทำละลาย ทินเนอร์ รวมไปถึงความชื้นได้เป็นอย่างดี ช่วยปรับระดับของพื้นคอนกรีตให้เรียบเนียนไร้รอยต่อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี สามารถทำความหนาได้ที่ขนาด 1.5 - 2 มิลลิเมตร

·   ​พื้น PU coating (พื้น พียูแบบกลิ้ง) จัดเป็นพื้นที่ ราคาถูกที่สุดในประเภทพื้น PU นิยมใช้กับพื้นที่กลางแจ้ง ซึ่งจะมีความหนาเป็นไมครอน (Micron) pu coating นิยมใช้ในงานกลางแจ้งเพราะมีความทนทานต่อแสง UV สีไม่ซีดสามารถเลือกทั้งผิวด้านและผิวเงา ราคาสูงกว่า Epoxy Coating
ความแตกต่างระหว่างพื้น PU และ พื้น Epoxy

       ถึงแม้ว่าทั้งพื้น PU และพื้น Epoxy จะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับพื้นในอุตสาหกรรมต่างๆที่หลากหลายเหมือนกัน ด้วยคุณสมบัติที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพื้น ทนทาน ไร้รอยต่อ ช่วยปกป้องพื้นคอนกรีต ทนต่อสารเคมี  แต่ก็ยังมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ที่เหมาะสม

·   พื้น Epoxy จะมีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงสูงแต่ในขณะเดียวกันก็เปราะง่าย พื้น PU จะมีความยืดหยุ่นทนทานต่อรอยขีดข่วนได้มากกว่าและยังรองรับการขยายตัวอันมีสาเหตุจากอุณหภูมิได้

·   พื้น PU จะเน้นความทนทานไปที่สารเคมีอันมาจากธรรมชาติอย่าง กรดแลคติก แต่พื้น Epoxy สามารถทนทานสารเคมีหนักจำพวก กรดฟิวริก ได้ดีกว่า

·   พื้น Epoxy จะต้องอาศัยระยะเวลาที่เยอะกว่าในการเซตตัวเองให้แห้ง แต่พื้น PU จะเซตตัว บ่ม และแห้งตัวเร็วกว่าภายใน 24 ชม

·   พื้น PU เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเหมาะกับพื้นที่เปียกหรือมีการล้างทำความสะอาดบ่อยๆแต่ Epoxy เหมาะกับพื้นที่แห้งไม่เปียกน้ำ

·   สีของพื้น PU จะมีแบบชนิดสีด้านและกึ่งเงากึ่งด้าน เฉดสีจะมีให้เลือกน้อย ส่วนEpoxy จะมีชั้นฟิล์มเป็นแบบชนิดเงา สามารถเลือกสีได้หลากหลาย และยังสามารถทำสีตามสีต่างๆที่ต้องการได้
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้